ความเป็นมา

มีการค้นพบประวัติการฝึกฝนวิชาเทควันโดของชาวเกาหลีมานานนับ2000 ปีแล้ว ซึ่งหลังจากที่ประเทศเกาหลีได้รับการประกาศเอกราช เป็นอิสระภาพจากการปกครองของประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซอง คุก ดี แห่งสำนัก Teakyondo สาธิตศิลปะป้องกันตัว เทควันโดขึ้นต่อหน้าประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี ฯพณฯ นาย Syngman Rhee ในโอกาส วันคล้ายวันเกิดของอาจารย์ ซอง คุก ดี ท่านได้แสดงให้เห็นความแตกต่างของวิชาศิลปะการต่อสู้แบบเทควันโด และคาราเต้ ของญี่ปุ่น อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งนับว่าเป้นครั้งแรกของ การจุดประกายวิชานี้ ขึ้นมาให้สาธารณชนได้รับรู้

ต่อมาก็ได้มีการเปิดโรงฝึก Gymnasium ของวิชาเทควันโดไปทั่วประเทศ ค.ศ.1950-1953 หลังสงครามเกาหลีวิชา เทควันโดได้รับความ นิยมเป้นอย่างมาก มีการผลิตและส่งผู้เชี่ยวชาญ ครูฝึกสอนวิชาเทควันโด กว่า 2000 คนไปเผยแพร่ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลกลแะมี การเสนอให้วิชาเทควันโด เป็นศิลปะป้องกันตัวประจำชาติเกาหลี ในปี ค.ศ.1971 ตามมาด้วยการก่อตั้งศูนย์เทควันโดแห่งชาติ Kukkiwon ที่กรุงโซลเพื่อเป้นศูนย์กลาง การฝึก,การแข่งขัน,การบริหาร และการเผยแพร่ วิชาเทควันโดตราบจนปัจจุบัน

28 พฤษภาคม 1973 มีการก่อตั้งสหพันธ์เทควันโดสากล (The World Taekwondo Federation หรือ WTF) เพื่อดูแลประเทศ สมาชิกกว่า 108 ประเทศ และปีเดียวกันนี้เอง ก้ได้การเริ่มแข่งขันชิงแชมป์เทควันโดระดับโลกขึ้นและได้จัดแข่งเป็นประจำทุก 2 ปีตลอดมา

เมื่อแรกก่อตั้งมีสมาชิกเพียง 50 ประเทศ แต่ในปัจจุบันมีถึงกว่า 150 ประเทศ ประธานสหพันธ์คนแรก และคนปัจจุบันได้แก่ นาย Un Yong Kim เป้นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบรรจุกีฬาเทควันโด ไว้ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ในปี ค.ศ.1974และกีฬาโอลิมปิก ปี 2000 ที่ประเทศออสเตรเลีย

ที่มา http:/<a href="/www.thannam.net/taekwondo.php?tkd=338&taekwondoName=%BB%C3%D0%C7%D1%B5%D4%A4%C7%D2%C1%E0%BB%E7%B9%C1%D2%A2%CD%A7%E0%B7%A4%C7%D1%B9%E2%B4“>/www.thannam.net/taekwondo.php?tkd=338&taekwondoName=%BB%C3%D0%C7%D1%B5%D4%A4%C7%D2%C1%E0%BB%E7%B9%C1%D2%A2%CD%A7%E0%B7%A4%C7%D1%B9%E2%B4

ใส่ความเห็น

Filed under Uncategorized

ประเภท

เริ่ม สายขาว
10 สายเหลือง1 (สายส้ม-ในบางยิม)
9 สายเหลือง2
8 สายเขียว1 (สีเขียวขี้ม้า-ในบางยิม)
7 สายเขียว2
6 สายฟ้า1 (ม่วง-ในบางยิม )
5 สายฟ้า2 (น้ำเงิน-ในบางยิม)
4 สายน้ำตาล1
3 สายน้ำตาล2
2 สายแดง1
1 สายแดง2

ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94

ใส่ความเห็น

Filed under Uncategorized

หน้าเเรก

โครงงานเว็บไซต์เรื่อง เทควันโด โย่โย่
ผู้จัดทำ

1.นางสาวชนิภา เต็มพร้อม เลขที่ 17 ชั้น ม.6/2
2.นางสาววัจนารัตน์ ผัดเป็ง เลขที่ 36 ชั้น ม.6/2
ที่ปรึกษา คุณครูอริศรา สะสม
โรงเรียนรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่าน

ใส่ความเห็น

Filed under Uncategorized

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

ประเภทโครงงาน
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ เป็นการใช้บูรณาการร่วมกับการเรียนรู้ ทักษะและเป็นพื้นฐานในการกำหนดโครงงานและปฏิบัติ
2. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนกำหนดขั้นตอน ความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยใช้ทักษะความรู้ จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆมาบูรณาการเป็นโครงงานและปฏิบัติ
สามารถแบ่งได้ 4 รูปแบบ ตามวัตถุประสงค์
1. โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล
2. โครงงานที่เป็นการศึกษาค้นคว้า ทดลอง
3. โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่ ๆ ในการพัฒนาผลงาน
4. โครงงานที่เป็นการสร้างประดิษฐ์ คิดค้น

1. โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล
เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมข้อมูล เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนำข้อมูลนั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ ในรูปแบบที่เหมาะสม ข้อมูลที่ได้จะนำไปปรับปรุงพัฒนาผลงาน ส่งเสริมผลผลิตให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ข้อมูลดังกล่าว อาจมีผู้จัดทำขึ้นแล้ว แต่มีการเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีการจัดทำใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ศึกษาโครงงาน โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก เช่น

* การสำรวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
* การสำรวจงานบริการและสถานประกอบการในท้องถิ่น

2. โครงงานที่เป็นการศึกษาค้นคว้า ทดลอง
เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ โดยศึกษาหลักการและออกแบบการค้นคว้า ในรูปแบบการทดลองเพื่อยืนยันหลักการ ทฤษฎี เพื่อศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มคุณค่า และการใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เช่น

* การปลูกพืชโคยไม่ใช้สารเคมี
* การทำขนมอบชนิดต่าง ๆ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น
* การควบคุมการเจริญเติบโตของต้นไม้ประเภทเถา
* การศึกษาสูตรเครื่องดื่มที่ผลิตจากธัญญพืช

ใส่ความเห็น

Filed under โครงงานคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของโครงงานคอมพิวเตอร์

การทำโครงงานคอมพิวเตอร์และการจัดงานแสดงโครงงานจะมีคุณค่าต่อการฝึกฝนให้นักเรียนมีความรู้ ความชำนาญ และมีความมั่นใจในการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเองและยังมีคุณค่าอื่น ๆ อีกดังต่อไปนี้
1. สร้างความสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาและพัฒนาระบบด้วยตนเอง
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องที่นักเรียนสนใจได้ลึกซึ้งกว่าการเรียนในห้องตามปกติ
4. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน
5. กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิชาสาขาคอมพิวเตอร์ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางด้านนี้
6. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
7. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสนใจคอมพิว เตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
8. เป็นการบูรณาการเอาความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่ได้รับมาจัดทำผสมผสานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นโครงงานเพื่อนำเสนอต่อชุมชน
การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์นั้น นักเรียนควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เหตุผลที่ใช้ในการแก้ปัญหา กระบวนการแก้ปัญหา หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น และการแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะเริ่มทำโครงงาน และใช้ความรู้ดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ในโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยในการทำโครงงานนักเรียนอาจจะมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับความรู้ใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ฐานข้อมูล (Database) และการสืบค้นข้อมูล (Information Retrieval) เป็นต้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหัวข้อที่นักเรียนเลือกทำโครงงาน
ที่มา : http://banh01.wordpress.com/2011/02/09/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E/

ใส่ความเห็น

Filed under โครงงานคอมพิวเตอร์

ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงาน (Project Approach) คือ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นๆ ไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดำเนินงานตามแผน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการนำเสนอผลงาน ซึ่งอาจทำเป็นบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
โครงงาน คือ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้ง หรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอนมีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆ
ที่มา : http://www.tum9.ob.tc/project_1.htm

ใส่ความเห็น

Filed under โครงงานคอมพิวเตอร์

PENSODTAMMAI -ver.Fainoi&Chee

ใส่ความเห็น

Filed under Uncategorized

Pic chefno

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป

ใส่ความเห็น

Filed under Uncategorized

Jedward & Mc

ใส่ความเห็น

Filed under Uncategorized

เ รื่ อ ง ข อ ง บ ล็ อ ค

บล็อค
ความหมายของบล็อค

ป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภท หนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอใน หลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า “บล็อก” ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า “บล็อกเกอร์”

ประเภทของบล็อค
* ดรูปาล (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)
* เวิร์ดเพรสส์ (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)
* สแลช (เพิร์ล)
* ไลฟ์ไทป์ (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)
* จุมล่า (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)
* แมมโบ้ (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)

คุณค่าและประโยชน์
ช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

1 ความเห็น

Filed under Uncategorized